ความเป็นมาโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน

ความเป็นมาโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เห็นความสำคัญในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เกิดใหม่ทดแทนได้อีก และช่วยลดการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน) ในประเทศไทยยังมีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับ กฟผ. ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงมีการศึกษาและการดำเนินการโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) เพื่อกำจัดและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และสอดคล้องกับการปฏิบัติตามพันธกรณในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) โดย กฟผ. ได้ประกาศเป็นนโยบายเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และแนวทางการปฏิบัติการดำเนินงานโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมของ กฟผ. ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยใช้พลังน้ำในการผลิตไฟฟ้าซึ่งมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนชนิดอื่น เป็นการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ณ บริเวณท้ายเขื่อนของกรมชลประทานที่มีอยู่แล้ว จึงไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบโรงไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าเมื่อกรมชลประทานระบายน้ำลงสู่ท้ายน้ำตามแผนการปล่อยน้ำตามปกติของกรมชลประทาน จึงไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้น้ำทั้งน้ำเหนือ และท้ายน้ำ โดย กฟผ. […]

Rapheephat Toumsaeng

22 December 2022

เขื่อนผาจุก จ.อุตรดิตถ์

โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก หนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน สร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณอําเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีเขื่อนสิริกิติ์เป็นแหล่งน้ำต้นทุน โดยเกิดจากความร่วมกันระหว่าง กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการระบายน้ำ ผลิตกระแสไฟฟ้า ก่อนลงสู่ท้ายน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ตามเดิมต่อไป

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

ท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องจากเขื่อนจุฬาภรณ์ โดยการนำน้ำที่ระบายจากเขื่อนจุฬาภรณ์ผ่านทางอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิมมาผลิตไฟฟ้าก่อนระบายลงสู่ลำน้ำพรมและไหลเข้าเขื่อนห้วยกุ่ม เขื่อนทดน้ำพรม (โครงการชลประทานน้ำพรม) ซึ่งอยู่ท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภค-บริโภค จึงเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1.25 เมกะวัตต์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ5.54 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

เขื่อนคลองตรอน จ.อุตรดิตถ์

เขื่อนคลองตรอน มีวัตถุประสงค์เพื่อการชลประทาน เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 น้ำที่ระบายจากอ่างเก็บน้ำลงสู่ลำน้ำคลองตรอนได้ถูกทดไว้ด้วยฝายคลองตรอนซึ่งอยู่ท้ายน้ำห่างจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนคลองตรอนประมาณ 17 กิโลเมตร เพื่อส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกตอนล่างในอำเภอน้ำปาดและอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อใช้มีการใช้ประโยชน์จากน้ำที่ระบายให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง

เขื่อนกิ่วคอหมา เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำน้ำที่ระบายจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วคอหมามาผลิตไฟฟ้าก่อนระบายน้ำลงแม่น้ำวังและเขื่อนกิ่วลม เพื่อให้พื้นที่ท้ายน้ำได้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร การประมง และการอุปโภค-บริโภค ได้ดังเดิม

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก

เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่างที่ประสบปัญหาอุทกภัย รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ตลอดจนสำหรับการอุปโภค-บริโภค เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2546 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2554 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สร้างขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำป่าสัก และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างปิดกั้นแม่น้ำป่าสัก ตั้งอยู่ที่ ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ดำเนินการแล้วเสร็จวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 โดยมีกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ           ต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 นับแต่นั้นเป็นต้นมา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้ยังประโยชน์แก่ราษฎรสมดังชื่อเขื่อนที่ได้รับพระราชทานนามที่มีความหมายว่า “เป็นเขื่อนเก็บกักน้ำที่มีประสิทธิภาพ”            

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก

เขื่อนขุนด่านปราการชล สร้างกันลำน้ำคลองท่าด่าน สามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่พื้นที่ชลประทานในเขต จ.นครนายก กว่า 185,000 ไร่ ช่วยลดความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำนครนายก อีกทั้งสามารถใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ช่วยชะล้างหน้าดินเปรี้ยว และเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ชลประทาน

Rapheephat Toumsaeng

16 December 2022

เขื่อนแม่กลอง จ.กาญจนบุรี

เขื่อนแม่กลอง ตั้งอยู่บนแม่่น้ำแม่กลอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี มีลักษณะเป็นเขิื่อนทดน้ำ (Diversion Dam) ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตขนานนามว่า “เขื่อนวชิราลงกรณ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเปลี่ยนเป็นชื่อ “เขื่อนแม่กลอง”

Rapheephat Toumsaeng

15 December 2022

เขื่อนนเรศวร จ.พิษณุโลก

จากปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปีในพื้นที่ จ.พิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะบริเวณทุ่งสาน อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก จะถูกน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรกว่า 95,000 ไร่ ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงได้รับสั่งว่าการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำแม่น้ำน่านที่ไหลจากเขื่อนสิริกิติ์เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ทุ่งสาน และพื้นที่โดยรอบ พร้อมสามารถกักเก็บไว้ในฤดูแล้ง และเป็นแหล่งน้ำทางชลประทานทางการเกษตรอีกด้วย จึงได้พระราชดำริให้มีการก่อสร้างโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนนเรศวร หรือ เขื่อนนเรศวร ขึ้นที่บ้านหาดใหญ่ หมู่ 7 ต.พรหมพิราม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก           หลังจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างเขื่อนนเรศวร ขึ้นในปี พ.ศ. 2518 แล้ว จากนั้นได้มีการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2525 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ มาเป็นประธานทรงเปิดป้ายเขื่อนนเรศวรอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525

Rapheephat Toumsaeng

15 December 2022
1 2 3 19
Skip to content