ระบบเดินเครื่องและบำรุงรักษาระยะไกล อีกก้าวใหม่ของโรงไฟฟ้าดิจิทัลพลังน้ำ

ระบบเดินเครื่องและบำรุงรักษาระยะไกล อีกก้าวใหม่ของโรงไฟฟ้าดิจิทัลพลังน้ำ           ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก วิถีชีวิตของผู้คนก็เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีอาจเป็นได้ทั้งกลยุทธ์เสมือนอาวุธสำคัญในการรบ เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ แนวคิด หรือรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ที่ทำให้ทำงานสะดวก คล่องตัวมากยิ่งขึ้น และแน่นอนในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็เป็นดั่งอุปสรรคที่เข้ามา ส่งผลกระทบธุรกิจหรือแนวคิดเดิมให้ต้องปรับตัว เพราะเมื่อใหม่มาเก่าก็ไป ธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ ที่ปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงก็อาจต้องปิดตัวลง เทคโนโลยีจึงเป็นทั้งคุณและโทษ อยู่ที่มุมมองและการปรับตัวการนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะองค์กรหลัก ที่รับผิดชอบด้านการผลิตและดูแลระบบไฟฟ้าของประเทศ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี จึงมุ่งมั่นเดินหน้าปรับตัวศึกษาและพัฒนานวัตกรรมนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงไฟฟ้าดิจิทัล โดยนำระบบเดินเครื่องและบำรุงรักษาระยะไกลมาใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน           โรงไฟฟ้าท่าทุ่งนา เป็นโครงการนำร่องโรงไฟฟ้าดิจิทัล ประเภทโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ของ กฟผ. ซึ่งได้เปิดใช้งานห้องควบคุมระบบเดินเครื่องและบำรุงรักษาระยะไกลอย่างเป็นทางการ ไปเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา โดยได้ติดตั้งระบบควบคุมเดินเครื่องระยะไกลสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเล็กและโรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนชลประทานในสังกัดเขื่อนศรีนครินทร์ จำนวน 5 เขื่อน ได้แก่ โรงไฟฟ้าเขื่อนท่าทุ่งนาและโรงไฟฟ้าเขื่อนแม่กลอง จ.กาญจนบุรี โรงไฟฟ้าเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โรงไฟฟ้าเขื่อนขุนด่านปราการชล […]

Rapheephat Toumsaeng

2 November 2020

เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงกำจัดตะกรันในหม้อน้ำ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง

เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงกำจัดตะกรันในหม้อน้ำ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง          ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า “หม้อน้ำ” นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ เพราะในโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม อย่างเช่นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง จะต้องมีการนำเชื้อเพลิง ซึ่งก็คือ ‘ถ่านหินจากเหมืองแม่เมาะ’ ไปต้มน้ำ เพื่อให้เกิดไอน้ำไปหมุนกังหันที่เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เพื่อผลิตไฟฟ้า          จากการใช้ถ่านหินเผาไหม้เป็นเวลานาน เพื่อต้มน้ำที่หม้อน้ำ โดยปกติแล้วจะเกิด “ตะกรันภายในหม้อน้ำ” ที่หากมีตะกรันในปริมาณมากจะกระทบต่อการถ่ายเทความร้อน หรือกระทั่งสร้างความเสียหายให้กับหม้อน้ำได้ ซึ่งตามปกติโรงไฟฟ้าจะมีระบบกำจัดตะกรันอยู่แล้ว หรือที่เรียกว่า Slag ชื่อ Water Cannon ซึ่งเป็นการทำความสะอาดตะกรันในพื้นที่กว้างและมีประสิทธิภาพสูง          อย่างไรก็ตาม ระบบดังกล่าวกลับทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากระบบตรวจจับ (Sensor) ปริมาณตะกรันไม่เสถียร อีกทั้งมีจุดที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้อยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องสั่งซื้อเครื่องใหม่จากต่างประเทศในราคาสูงถึง 500,000 บาทต่อตัว         […]

Rapheephat Toumsaeng

3 July 2020

หน้ากากความดันบวกชนิดพกพา น้ำใจ กฟผ. สู่คุณหมอและพยาบาลทั่วประเทศ

หน้ากากความดันบวกชนิดพกพา น้ำใจ กฟผ. สู่คุณหมอและพยาบาลทั่วประเทศ          ถึงแม้ในปัจจุบันจำนวนยอดผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 จะลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถไว้วางใจและกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติได้ เราจึงยังคงต้องให้ความร่วมมืออยู่บ้านเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาไปในเร็ววัน ดังนั้น หน้ากากความดันบวกชนิดพกพา หรือ Mobile PAPR Protective Mask ถือเป็นอีกหนึ่งในผลงานแทนน้ำใจ กฟผ. ซึ่งจะช่วยป้องกันบุคลากรทางการแพทย์จากเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้          กฟผ. ได้ระดมความคิดของผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วน เพื่อคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและรองรับความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้ภาวะวิกฤตเช่นนี้ให้ได้ดีที่สุด ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายบำรุงรักษาเครื่องกล กฟผ. จึงได้ร่วมกันคิดค้น หน้ากากความดันบวกชนิดพกพา ที่สามารถป้องกันระบบทางเดินหายใจจากเชื้อที่แพร่กระจายในอากาศ และป้องกันละอองฝอยที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ใบหน้าของบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี          หน้ากากความดันบวกชนิดพกพา หรือ Mobile PAPR Protective Mask ผลิตขึ้นจากการประยุกต์ใช้หน้ากากดำน้ำบนผิวน้ำแบบเต็มหน้า หรือ Full Face […]

Rapheephat Toumsaeng

14 May 2020

ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบ แทนน้ำใจ กฟผ. เพื่อสังคม

ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบ แทนน้ำใจ กฟผ. เพื่อสังคม          ใครจะคิดว่าโลกจะเดินทางมาถึงวันที่ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายเป็นใบไม้ร่วง เพราะโรคระบาด COVID -19 ที่ยังไม่มียาขนานใดมายับยั้งได้ วันนี้เราจึงทำได้แต่เพียงร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดไปมากกว่านี้ “ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบ” อีกหนึ่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ช่วยบุคลากรการแพทย์ลดความเสี่ยงจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้มีความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้น          ด้วยลักษณะงานของฝ่ายโรงงานและอะไหล่ กฟผ. ที่มีทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์งานช่างนานาชนิด รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานที่มีความชำนาญด้านการซ่อมและบำรุงรักษา เมื่อได้รับการประสานงานให้ออกแบบและผลิตตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบ ภารกิจของช่างซ่อมอุปกรณ์โรงไฟฟ้าจึงแปรเปลี่ยนไป ภายใต้คำแนะนำของ นพ.อนวัช เสริมสวรรค์ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และฝ่ายแพทย์และอนามัย กฟผ. เพื่อให้ได้ตู้ที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้งานได้สะดวก มีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยระหว่างการตรวจโรคมากที่สุด          ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจแรงดันบวกและแรงดันลบ ที่ กฟผ. พัฒนาขึ้น มีลักษณะสี่เหลี่ยมทรงสูง ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และสูง 2 […]

Rapheephat Toumsaeng

20 April 2020

ผลสำเร็จนวัตกรรมต้นแบบ ‘บ้านเบอร์ 5’ ของ กฟผ. อยู่สบาย ประหยัดพลังงาน ลดค่าไฟ ลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน

ผลสำเร็จนวัตกรรมต้นแบบ ‘บ้านเบอร์ 5’ ของ กฟผ. อยู่สบาย ประหยัดพลังงาน ลดค่าไฟ ลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน           โครงการบ้านเบอร์ 5 หรือโครงการฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพพลังงานสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในบ้านที่อยู่อาศัย นับเป็นความสำเร็จอีกขั้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยต้นแบบ ‘บ้านเบอร์ 5’ ที่สามารถลดค่าไฟฟ้าได้กว่า 1.66 ล้านบาทต่อปี ซึ่ง กฟผ. ได้ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ ทดลองใช้งาน ณ โครงการเคหะชุมชนฯ บ่อวิน จังหวัดชลบุรี เป็นแห่งแรก และตั้งเป้าพัฒนาให้เกิดบ้านเบอร์ 5 ทั่วประเทศภายใน 5 ปี ตามส่องนวัตกรรม ‘บ้านเบอร์ 5’           คุณรู้จัก ‘ฉลากเบอร์ 5’ ไหม? เชื่อว่าหลายคนคงพยักหน้าอยู่ในใจ…         […]

Rapheephat Toumsaeng

9 April 2020

เครื่องบรรจุเจลแอลกอฮอล์ นวัตกรรมเพื่อสังคม หนุนสู้ COVID -19

เครื่องบรรจุเจลแอลกอฮอล์ นวัตกรรมเพื่อสังคม หนุนสู้ COVID -19          สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ยังไม่อาจทราบได้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะยุติเมื่อใด แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้ายนั้นคือการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง ซึ่งแน่นอนว่าการสัมผัสเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เราได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้น การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค ก็ช่วยให้เราขยับห่างไกลจากโรคมากขึ้นอีกนิดได้           กฟผ. จึงมีการผลิตเจลแอลกอฮอล์ในชื่อว่า “เจลอนามัย น้ำใจ กฟผ.” ซึ่งมีเอทิลแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ที่สามารถช่วยยับยั้งและฆ่าเชื้อโรคได้ โดยมีเป้าหมายผลิตเจลอนามัยฯ บรรจุขวดเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ชุมชนโดยรอบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 40,000 ขวด หวังกระตุ้นให้ทุก ๆ คน หมั่นดูแลใส่ใจในสุขภาพอนามัยของตนเอง   […]

Rapheephat Toumsaeng

30 March 2020

นวัตกรรมระบบป้องกันพิเศษระหว่างประเทศเชื่อมโยงความมั่นคงระบบไฟฟ้า ไทย – สปป.ลาว

นวัตกรรมระบบป้องกันพิเศษระหว่างประเทศเชื่อมโยงความมั่นคงระบบไฟฟ้า ไทย – สปป.ลาว          ประเทศไทย และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้ดำเนินการซื้อ ขาย และแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าระหว่างกันมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี ผ่านความร่วมมือของสองหน่วยงานด้านพลังงานไฟฟ้าของสองประเทศ คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (ฟฟล.) ที่ร่วมกันส่งเสริมให้ระบบไฟฟ้าของทั้งสองประเทศมีความมั่นคง เพราะไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งวันนี้การเชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้าของทั้งสองประเทศได้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นด้วย นวัตกรรมฝีมือคนไทย ที่ช่วยแก้ปัญหาการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินพิกัดบนสายส่งระหว่างไทย – สปป.ลาว “ครั้งแรกของ ไทย-สปป.ลาว”           ระบบป้องกันพิเศษระหว่างประเทศ ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมงานฝ่ายระบบควบคุมและป้องกัน (อรค.) โดยสืบเนื่องมาจากในช่วงปี 2562-ปัจจุบัน ระบบไฟฟ้าของ ฟฟล. มีกำลังผลิตไม่เพียงพอ เนื่องจากปัญหาน้ำแล้ง ทำให้ไม่มีน้ำสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า จำเป็นต้องรับซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ. เป็นปริมาณมากจนบางช่วงเกิดการส่งจ่ายไฟฟ้าเต็มพิกัดของขีดจำกัดของกำลังไฟฟ้า (Percent Limit) ที่รองรับได้ ส่งผลให้เกิดการจ่ายกระแสไฟฟ้าเกิน (Over […]

Rapheephat Toumsaeng

19 March 2020

‘โดรน’ สำรวจโครงสร้างเพื่อบำรุงรักษาเขื่อน

‘โดรน’ สำรวจโครงสร้างเพื่อบำรุงรักษาเขื่อน           โลกปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถคาดการณ์ได้ สิ่งที่เคยเป็นเรื่องยากในอดีต กลับสามารถทำได้อย่างง่ายดายมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปเป็นเรื่องที่ผู้คนในปัจจุบันควรให้ความสำคัญ           การดำเนินงานด้านบำรุงรักษาโยธา เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ฝ่ายบำรุงรักษาโยธา (อบย.) จึงได้ให้ความสำคัญด้วยการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีคุณภาพและได้รับการยอมรับในวงกว้างมากยิ่งขึ้น           การสำรวจรอยแตกร้าวของโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ เป็นการเสริมความแข็งแรงของคอนกรีตที่ถูกกัดเซาะด้วยแดดและฝนในทุกๆวัน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบใดๆต่อความมั่นคงของเขื่อน กฟผ. แต่อย่างใด           ทว่า การสำรวจปริมาณงานรอยแตกร้าวทั้งหมดเพื่อประเมินการทำงาน เป็นความท้าทายในงานบำรุงรักษาโยธา เนื่องจากพื้นที่หน้างานมีปริมาณกว้างและบางพื้นที่ยากแก่การเข้าถึง ที่ผ่านมาต้องใช้บุคลากรที่ผ่านการอบรมการทำงานบนที่สูงมาเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความผิดพลาดจากบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้จากทักษะของบุคลากรที่มีไม่เท่ากันและการทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อคุณภาพของการดำเนินงานทั้งสิ้น           ฝ่ายบำรุงรักษาโยธา (อบย.) จึงมีแนวคิดที่จะนำอากาศยานไร้คนขับ (Drone) มาประยุกต์ใช้ในงานสำรวจปริมาณรอยแตกร้าวของโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ที่มีความสูงประมาณ […]

Rapheephat Toumsaeng

30 January 2020

“ระบบกักเก็บพลังงาน” กุญแจปลดล็อคสู่ความมั่นคงของพลังงานแห่งอนาคต

“ระบบกักเก็บพลังงาน” กุญแจปลดล็อคสู่ความมั่นคงของพลังงานแห่งอนาคต          ปฏิเสธไม่ได้ว่า “พลังงานหมุนเวียน” (Renewable Energy) เป็นพลังงานแห่งอนาคตที่ทั่วโลกล้วนหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถพึ่งพาได้อย่างมั่นคง แต่ด้วยปัจจุบัน ไฟฟ้าที่ได้จากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน อย่าง แสงอาทิตย์ ลม ยังมีความผันผวน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละช่วงเวลาที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ “ระบบกักเก็บพลังงาน” (Energy Storage System) จึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยในการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลา ให้สามารถสั่งจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดความผันผวนของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนให้มีความเสถียรมากขึ้น และยังเปรียบเสมือน Power Bank พลังงานสำรอง เข้าเสริมระบบเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น          การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานหมุนเวียนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) เพื่อให้สามารถนำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้าในภาพรวม รวมถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพลังงานมาบูรณาการให้สอดรับกับทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานของโลกในอนาคต          กฟผ. จึงมุ่งพัฒนา และสรรหานวัตกรรมกักเก็บพลังงานที่เหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าไทย ดังนี้     […]

Rapheephat Toumsaeng

2 January 2020

ไฮบริดกังหันลมลำตะคองเคียงคู่เซลล์เชื้อเพลิง คู่สร้าง คู่สม แห่งเขายายเที่ยง

ไฮบริดกังหันลมลำตะคองเคียงคู่เซลล์เชื้อเพลิง คู่สร้าง คู่สม แห่งเขายายเที่ยง          หากใครที่ได้ขับรถผ่านถนนมิตรภาพ ตามเส้นทางที่วิ่งไปทางเมืองโคราช คงจะได้เห็นกังหันลมจำนวน 12 ต้น ที่ตั้งตระหง่านอยู่ตามรายทาง ซึ่งกังหันลมที่เห็นนั้นคือ โครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคองระยะที่ 2 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทีเพิ่งติดตั้งเสร็จสดๆ ร้อนๆ เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา          กังหันลมขนาดกำลังผลิตต้นละ 2 เมกะวัตต์ จำนวน 12 ต้น รวมกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ที่ทอดยาวตลอด 8 กิโลเมตร บนเขายายเที่ยง ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้วนี้มีความพิเศษ เพราะไม่ได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเท่านั้น ยังทำงานร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิง หรือเรียกว่า Wind Hydrogen Hybrid ซึ่งเป็น ‘แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชีย’ ที่ใช้ระบบนี้ในการกักเก็บและจ่ายไฟฟ้า Wind Hydrogen Hybrid คืออะไร?   […]

Rapheephat Toumsaeng

7 September 2017
1 3 4
Skip to content