“ฮิวมิค” วัตถุพลอยได้จากการทำเหมืองแม่เมาะ ธาตุอาหารดินชั้นเลิศ ตัวช่วยเกษตรกรไทยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ตอบโจทย์ BCG Economy Model

“ฮิวมิค” วัตถุพลอยได้จากการทำเหมืองแม่เมาะ ธาตุอาหารดินชั้นเลิศ ตัวช่วยเกษตรกรไทยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ตอบโจทย์ BCG Economy Model           ประเทศไทยได้ประกาศใช้โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยแบบใหม่ หรือ BCG Economy Model ในเวทีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Conference of the Parties: COP26ปี พ.ศ. 2564เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตควบคู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน           BCG Economy Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมใน 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยนำขยะเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่มิได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญควบคู่กับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน           การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้ผลิตไฟฟ้าหลักโดยใช้เชื้อเพลิงหลากหลายชนิดหนึ่งในนั้นคือ “ถ่านหินลิกไนต์” จากเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ได้นำ BCG Economy Model มาใช้จนได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีโดยการนำ “ลีโอนาร์ไดต์ […]

Rapheephat Toumsaeng

25 December 2023

กฟผ. กางแผนรุกพลังงานไฮโดรเจน มุ่งสู่ Carbon Neutrality อย่างยั่งยืน

กฟผ. กางแผนรุกพลังงานไฮโดรเจน มุ่งสู่ Carbon Neutrality อย่างยั่งยืน           การเปลี่ยนผ่านพลังงานจากพลังงานฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียน เป็นการนำพลังงานที่กำเนิดจากธรรมชาติรอบตัวเราและใช้ได้ไม่หมดสิ้น อย่าง พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม มาใช้ประโยชน์ให้กับมนุษย์นับเป็นความท้าทายของนานาประเทศทั่วโลกที่ต้องเร่งเพิ่มอัตราการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้มากที่สุด เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน           พลังงานไฮโดรเจน จึงเป็นพลังงานที่ฮอตฮิตเป็นที่สนใจของทั่วโลกในการนำมาผลิตไฟฟ้าและกักเก็บพลังงาน เนื่องจากไฮโดรเจนเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ตอบโจทย์เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือ Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065 ไฮโดรเจน พลังงานแห่งอนาคต           พลังงานไฮโดรเจนสามารถสังเคราะห์ได้จากเชื้อเพลิงตามธรรมชาติหลากหลายประเภท ทั้งที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาทิไฮโดรเจนสีเทา (Grey hydrogen) ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ไฮโดรเจนสีดำและน้ำตาล (Black and brown hydrogen) จากถ่านหินสีดำ และลิกไนต์ ไฮโดรเจนสีแดง (Red hydrogen) จากชีวมวล หรือที่ไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เรียกว่า ไฮโดรเจนสีเขียว (Green hydrogen) ซึ่งผลิตจาก พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส […]

Rapheephat Toumsaeng

25 December 2023

กฟผ. เร่งเดินหน้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ ผลิตไฟฟ้าสีเขียวตอบโจทย์เทรนด์โลก

กฟผ. เร่งเดินหน้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ ผลิตไฟฟ้าสีเขียวตอบโจทย์เทรนด์โลก           ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งเร้าให้ทั่วโลกเดินหน้าเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยประเทศไทยตั้งเป้าเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 50% เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดโดยเฉพาะในภาคการผลิตไฟฟ้าและขนส่ง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี 2050           การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หรือ โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด (Hydro-floating Solar Hybrid) ซึ่งถือเป็นต้นแบบของโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดแบบผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์ทำงานร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำของ กฟผ. ที่มีอยู่เดิม ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้อย่างต่อเนื่องยาวนานขึ้น และมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำ จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาทั่วโลกผ่านโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งแรกที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี กำลังผลิตไฟฟ้า 45 เมกะวัตต์           สำหรับในปี 2566 กฟผ. เร่งดำเนินโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดแห่งที่ 2 ณ เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น กำลังผลิตไฟฟ้า 24 เมกะวัตต์ พัฒนาต่อยอดเพิ่มการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) แบบลิเธียมไอออนขนาด 6 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ช่วยให้ระบบไฟฟ้าในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำมีเสถียรภาพมากขึ้น สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ           ปัจจุบันโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์อยู่ในระหว่างดำเนินงานประกอบแผงโซลาร์เซลล์เข้ากับทุ่นลอยน้ำ โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 48,000 แผง ติดตั้งอยู่บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 320 […]

Rapheephat Toumsaeng

21 December 2023

สุขล้นใจ นักท่องเที่ยวหลั่งไหลร่วมเทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ ครั้งที่ 19 ยลแลนด์มาร์กงดงาม ทุ่งดอกบัวตองบานสะพรั่งกว่า 200 ไร่

สุขล้นใจ นักท่องเที่ยวหลั่งไหลร่วมเทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ ครั้งที่ 19 ยลแลนด์มาร์กงดงาม ทุ่งดอกบัวตองบานสะพรั่งกว่า 200 ไร่           คึกคักตลอดทั้ง 3 วัน (วันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2566) กับงานเทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ ครั้งที่ 19 “Happiness in the Air: แม่เมาะ บรรยากาศแห่งความสุข” ณ กฟผ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นักท่องเที่ยวทั่วประเทศต่างหลั่งไหลมาสัมผัสความสวยงามของทุ่งดอกไม้นานาชนิดอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะทุ่งดอกบัวตอง ราชินีดอกไม้สีเหลืองแห่งขุนเขาในสวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ที่หนึ่งปีมีแค่ครั้งเดียวเท่านั้นที่ผลิดอกสีเหลืองบานสะพรั่งกว่า 200 ไร่ นับเป็นแลนด์มาร์คงดงามที่นักท่องเที่ยวต่างไม่พลาดแวะมา “แชะ” ภาพสวย ๆ กลับไปเป็นที่ระลึก           ไม่ไกลจากทุ่งดอกบัวตอง ยังมีดอกซัลเวีย บลู ไจแอนท์ บานเต็มที่สีม่วงเข้ม และดอกคอสมอส หรือดาวกระจายสีชมพู ที่อวดโฉมเบ่งบานรับอากาศเย็นสบายในเดือนนี้ ซึ่งนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ชมความงดงามของธรรมชาติในพื้นที่ฟื้นฟูจากการทำเหมืองจนกลายเป็นทุ่งดอกไม้สวยสะดุดตาแล้ว ยังได้ขึ้น Skywalk ชมความงามของบ่อเหมืองในมุมสูง 360 องศา เยี่ยมชมสวนพฤกษชาติ […]

Rapheephat Toumsaeng

16 November 2023

เอาใจคนมักม่วน…แอ่วเทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ 10 – 12 พ.ย. นี้

เอาใจคนมักม่วน…แอ่วเทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ 10 – 12 พ.ย. นี้           ยามลมหนาวเริ่มพัดหวน บรรยากาศแห่งความสุขที่ กฟผ. แม่เมาะ จ.ลำปาง ก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง ทั้งทุ่งดอกไม้นานาพรรณที่ใกล้จะบานสะพรั่ง มวลหมอกที่หยอกเย้าเหนือยอดไม้ และกิจกรรมความสนุกที่จะนำพาความสุขกลับมาให้ม่วนอ๊กม่วนใจ๋กันอีกครั้ง กับงาน “เทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ ครั้งที่ 19” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 10 – 12 พฤศจิกายน 2566 ภายใต้แนวคิด “Happiness in the Air : แม่เมาะ บรรยากาศแห่งความสุข” จากเหมืองถ่านหินสู่แลนด์มาร์คทุ่งดอกบัวตองสุดปัง           ทุ่งดอกบัวตองที่กำลังเบ่งบานชูช่อดอกสีเหลืองจนปกคลุมไปทั่วทั้งหุบเขากว่า 500 ไร่ ซึ่งเดิมเคยเป็นที่ทิ้งดินจากการทำเหมืองถ่านหินตามแนวทางการฟื้นฟูเหมืองแม่เมาะ กลายเป็นมนต์เสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยให้อยากมาสัมผัสและเก็บภาพความประทับใจ ทั้งนักท่องเที่ยววัยเก๋าที่สามารถใช้ส่งแทนภาพสวัสดีวันจันทร์ส่งให้เพื่อนแบบเก๋ๆ หรือจะเป็นนักท่องเที่ยวแบบครอบครัวและคู่รักก็รับรองว่าจะได้ภาพสุดอบอุ่น สดใสแข่งกับดอกบัวตองแน่นอน           นอกจากนี้พื้นที่โดยรอบยังมีไม้ดอกที่สีสันสวยงามไม่แพ้ดอกบัวตองจัดเต็มไว้รองรับนักท่องเที่ยว อาทิ ดอกซัลเวีย บลู ไจแอนท์ สีม่วงสดใส และดอกคอสมอส สีชมพูที่เอาใจสายหวาน ซึ่งจะบานสะพรั่งตลอดทั้งเดือน พ.ย. นี้เช่นกัน เดินเนิบเนิบบนเติ๋นลอยฟ้า […]

Rapheephat Toumsaeng

3 November 2023

“ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด”“ตัวช่วยสำคัญ” ยกระดับระบบไฟฟ้าไทยสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน

“ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด” “ตัวช่วยสำคัญ” ยกระดับระบบไฟฟ้าไทยสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน           แนวโน้มของการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิล สู่การใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานภาคพลังงานของประเทศ พร้อมเดินหน้าเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนมาใช้ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น รวมทั้งมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับระบบไฟฟ้าไทยสู่ความทันสมัยและมั่นคง (Grid Modernization) พร้อมรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต           ความผันผวนและไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา นำมาสู่การจัดตั้งศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Forecast Center: REFC) และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center: DRCC) ของ กฟผ. ซึ่งเป็น 2 ใน 5 เสาหลักตามแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565-2574  โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 ณ สำนักงานใหญ่ กฟผ. เพื่อเป็นต้นแบบของศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลดในประเทศไทย “REFC” ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน “ที่สุดแห่งความแม่นยำ” “DRCC” ศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด ตัวช่วยลดการใช้ไฟฟ้า […]

Rapheephat Toumsaeng

26 September 2023

เขื่อนวชิราลงกรณ ขับเคลื่อนความยั่งยืน ด้านพลังงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมตามพระราชปณิธานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

เขื่อนวชิราลงกรณ ขับเคลื่อนความยั่งยืน ด้านพลังงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมตามพระราชปณิธานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร          “เขื่อนวชิราลงกรณ” เดิมชื่อว่าเขื่อน “เขาแหลม” ตั้งอยู่ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทยเริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2522 แล้วเสร็จในปี 2527 โดยวันที่ 9 มกราคม 2529 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเขาแหลม อย่างเป็นทางการ ต่อมาในวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “เขื่อนวชิราลงกรณ” ตามพระนามาภิไธยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร แทนชื่อ “เขื่อนเขาแหลม”          ตลอดเวลา 37 ปี […]

Sukarnya

28 July 2023

เปิดโมเดล “ปลูกป่าวนเกษตร ขายคาร์บอนเครดิต”ชวนคนบนดอยเปลี่ยนไร่ข้าวโพดสู่ผืนป่า

เปิดโมเดล “ปลูกป่าวนเกษตร ขายคาร์บอนเครดิต” ชวนคนบนดอยเปลี่ยนไร่ข้าวโพดสู่ผืนป่า           “4 ปีให้หลัง ดอยมันแล้งหนักมาก แต่ก่อนปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด มันไม่ยั่งยืน บางปีฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วงก็ขาดทุนไปเลย พอคนอยู่ไม่ได้ก็จะบุกรุกป่าไปเรื่อย ๆ ทิ้งที่ดินเก่าไว้ข้างหลังกลายเป็นเขาหัวโล้น”           คำบอกเล่าของวุฒิชาติ ลาดสีทา เกษตรกรบ้านเมืองน้อย ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย สะท้อนถึงปัญหาการทำเกษตรเชิงเดี่ยวแบบเดิม ๆ ที่นิยมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะให้ผลผลิตเร็วและขายได้เงินทันที แต่ก็ต้องแลกมากับผืนป่าและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ           มูลนิธิโครงการหลวงจึงจับมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เดินหน้าเชิงรุกพลิกฟื้นผืนป่าผ่านโมเดล “ปลูกป่าวนเกษตรอย่างมีส่วนร่วมผ่านกลไกคาร์บอนเครดิตแบบผูกพัน” ภายใต้โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกพืชแบบผสมผสาน ควบคู่กับการเพิ่มพื้นที่ป่าโดยใช้กลไกคาร์บอนเครดิตเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาต้นไม้สำหรับขายคาร์บอนเครดิตในระยะยาวเพื่อเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง ทำให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน โดยเริ่มนำร่องพื้นที่แรกที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย จำนวน  22.5 ไร่ ในพื้นที่ของเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือก 3 ราย คือ นายวุฒิชาติ ลาดสีทา นางเกษร จะทอ และนายจะหลู จะตอ ที่ตั้งใจเปลี่ยนไร่ข้าวโพดให้เป็นสวนวนเกษตรและผืนป่า คืนความอุดมสมบูรณ์ให้บ้านของพวกเขา พลิกโฉมไร่ข้าวโพดสู่วนเกษตร           ไร่ข้าวโพดบนพื้นที่ลาดเชิงเขาถูกปรับให้กลายเป็นสวนวนเกษตรที่มีไม้หลากหลายชนิด […]

Rapheephat Toumsaeng

27 July 2023

หนุน “Smart Grid” ด้วย “Smart Energy”ชูโซลาร์และแบตเตอรี่ ช่วยระบบไฟฟ้าแม่ฮ่องสอนมั่นคง

หนุน “Smart Grid” ด้วย “Smart Energy” ชูโซลาร์และแบตเตอรี่ ช่วยระบบไฟฟ้าแม่ฮ่องสอนมั่นคง           หากใครเคยไปเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน คงจะคุ้นกับชื่อตำบล “ผาบ่อง” กันอยู่บ้าง เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่และปกาเกอะญอ อีกทั้งพื้นที่ยังรายล้อมไปด้วยภูเขา ลำธาร ต้นไม้ ทุ่งนาสีเขียว และสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ อย่างสะพานข้าว บ่อน้ำร้อน และจุดชมวิว ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนนัก ปัจจุบันผาบ่องมีอีกหนึ่งสถานที่สำคัญ เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่ช่วยหล่อเลี้ยงหัวใจให้กับระบบไฟฟ้าของจังหวัด นั่นก็คือ โครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์ฟาร์ม ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) ที่พร้อมจ่ายไฟเสริมความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้า           แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นทุกปี แต่ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และเขตอุทยานแห่งชาติ ทำให้ไม่สามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงได้ จังหวัดนี้จึงต้องพึ่งพาแหล่งผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่สะงา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำผาบ่อง ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โรงไฟฟ้าดีเซลแม่ฮ่องสอน และโซลาร์ฟาร์ม ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นส่วนเสริมหากระบบส่งไฟฟ้าขนาดแรงดัน 115 กิโลโวลต์ […]

Rapheephat Toumsaeng

13 July 2023

Unseen EGAT by ENGY  ตอน ‘ESAN Clean Energy For The Future’ ถิ่นอีสาน แดนพลังงานสะอาด เพื่ออนาคต

Unseen EGAT by ENGY  ตอน ‘ESAN Clean Energy For The Future’ ถิ่นอีสาน แดนพลังงานสะอาด เพื่ออนาคต เพื่อนๆ ครับ ปัญหาโลกร้อนจากสภาพอากาศที่แปรปรวนนำมาสู่สภาวะโลกรวนที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้วันนี้ทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนเกิดเป็นร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26)  โดยประเทศไทยได้ร่วมประกาศเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนผ่านการเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP2018 REV.1) ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังน้ำที่กำลังจะเกิดขึ้นในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพที่จะผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จึงมีโครงการที่น่าสนใจที่กำลังจะเกิดขึ้นหลายโครงการ วันนี้ […]

EGAT

10 July 2023
1 2 3 12
Skip to content