3 วัน 2 คืน ไปสูดอากาศสดชื่นที่เขื่อนภูมิพล

3 วัน 2 คืน ไปสูดอากาศสดชื่นที่เขื่อนภูมิพล           เบื่อรถติด เบื่อมลพิษในเมืองใหญ่ เบื่อดูหนัง-เดินห้าง เบื่ออยู่บ้านวันหยุดแบบเหงา ๆ…ถ้าวันหยุดของคุณมีแต่คำว่า “เบื่อ” วนไปแบบนี้…คงถึงเวลาต้องพาตัวเองและครอบครัวออกไปสูดกลิ่นอายธรรมชาติบ้างแล้วล่ะ           ทริปนี้เราอยากชวนครอบครัวเก็บกระเป๋าแล้วไปเที่ยวเขื่อนภูมิพล ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอสามเงา จังหวัดตากด้วยกันค่ะ ถ้าออกสตาร์ทจากกรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมง หิวก็แวะ เมื่อยก็พัก ไม่นานนักก็เข้าสู่จังหวัดตาก เมืองเล็ก ๆ ที่มีจุดเด่นอยู่ที่ความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เพราะมีทั้งลำน้ำปิงและผืนป่าแห่งเทือกเขาธงชัยทอดผ่าน          แม้แต่ในเขตพื้นที่เขื่อนภูมิพลที่ดูแลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็เขียวชอุ่มร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ เป็นแหล่งผลิตออกซิเจนบริสุทธิ์ที่เราสูดได้เต็มปอด และทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้นทันทีที่มาถึง…          วันแรก เก็บความประทับใจ ณ เขื่อนภูมิพล     […]

Rapheephat Toumsaeng

5 September 2019

“โครงการ Dark Sky” คืนท้องฟ้าที่มืดมิดด้วยหลอดไฟ LED สานฝันสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนดอยอินทนนท์

“โครงการ Dark Sky” คืนท้องฟ้าที่มืดมิดด้วยหลอดไฟ LED สานฝันสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนดอยอินทนนท์ เครดิตภาพ http://restlessnationradio.com/on-the-trail-the-brilliance-of-the-night-sky/          ท่ามกลางเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่คุณจะได้เห็นดวงดาวพร่างพราวเรียงรายอยู่มากมายบนท้องฟ้าได้อย่างชัดเจน เนื่องจากแสงสว่างจากหลอดไฟจำนวนมากได้บดบังการมองเห็นดวงดาว ซึ่งการจะมองเห็นได้นั้น ท้องฟ้าต้องมีความมืดมากพอที่จะเห็นดวงดาว และในพื้นที่พื้นที่ป่าเขา เราอาจจะได้เห็นสัตว์ป่าน้อยใหญ่นานาชนิดออกมาหากินในเวลากลางคืนด้วย นั่นคือความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีใจรักการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์          สำหรับ กฟผ. หน่วยงานผู้ผลิตไฟฟ้า ซึ่งได้ดำเนินงานทางด้าน Demand Side Management หรือ DSM เพื่อรณรงค์ให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมาอย่างต่อเนื่องมากว่า 25 ปี และปัจจุบัน กฟผ. ยังได้สนับสนุนให้ท้องฟ้ามืดลงจากการรณรงค์ให้เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ในโครงการลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรือ “โครงการ Dark Sky” ซึ่งได้ดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว ความสว่างของหลอดไฟ LED ที่ไม่กระทบถึงดวงดาว          บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ […]

Rapheephat Toumsaeng

28 February 2019

“7 จุด” เช็คอินสุดอินดี้ ที่เขื่อนวชิราลงกรณ

“7 จุด” เช็คอินสุดอินดี้ ที่เขื่อนวชิราลงกรณ          ไม่ว่าจะฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูหนาว ไฟฟ้ายังคงเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับประชาชน การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ เป็นหนึ่งในผลพลอยได้ที่สำคัญของเขื่อนวชิราลงกรณ นับว่าเกิดประโยชน์อันมหาศาลต่อประชาชนชาวไทย และเนื่องในโอกาสครบรอบ 33 ปีเขื่อนวชิราลงกรณ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พวกเราจึงขอใช้โอกาสนี้พาทุกท่านไปเที่ยวเขื่อนแห่งนี้กันค่ะ          เขื่อนวชิราลงกรณ เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย จัดเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตั้งอยู่ในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ทำหน้าที่เก็บกัก-ปล่อยน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภค ผลักดันน้ำเค็ม รวมทั้งเป็นแหล่งประมงน้ำจืด และการปล่อยน้ำเพื่อกระบวนการเหล่านั้นทำให้เกิดผลพลอยได้เป็นกระแสไฟฟ้า สร้างประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและชุมชนรอบเขื่อน ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่สวยงามและบรรยากาศดีมาก          ความสวยงามของเขื่อนวชิราลงกรณที่พวกเราจะพาชมมีด้วยกัน 7 จุด จัดว่าเป็น 7 จุดเช็คอินของเขื่อนวชิราลงกรณที่ทุกคนไม่ควรพลาด เพราะแต่ละแห่งที่พาไปชมนั้น ต้องบอกว่า “สวยงามมาก” จุดเช็คอินที่ 1 […]

Rapheephat Toumsaeng

23 January 2019

ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 รูปแบบใหม่

ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 รูปแบบใหม่           กฟผ. ได้เปิดตัว ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 Ranking ซึ่ง กฟผ. ได้จัดทำมาตรฐานการประหยัดพลังงานที่สูงกว่าเดิม และแบ่งระดับเกณฑ์ประสิทธิภาพฉลากเบอร์ 5 ใหม่ ให้สะท้อนผลการประหยัดพลังงานที่ละเอียดมากขึ้น เริ่มการใช้งานฉลากเบอร์ 5 รูปแบบใหม่ ในวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นวันแรก  ฉลากเบอร์ 5 บอกอะไรเราบ้าง? – หมายเลข 1 บอกระดับประสิทธิภาพพลังงานที่ได้รับ ซึ่งประสิทธิภาพสูงสุดคือ 3 ดาว– หมายเลข 2 บอกประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฉลากฯ– หมายเลข 3 บอกค่าไฟฟ้าต่อปี ใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบและประมาณค่าไฟฟ้า– หมายเลข 4 บอกค่าประสิทธิภาพ ใช้ในการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกัน– หมายเลข 5 บอกข้อมูลผลิตภัณฑ์ทั้งยี่ห้อ ชื่อรุ่น ขนาดเพื่อให้สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้– หมายเลข 6 บอกเว็บไซต์ของโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

Rapheephat Toumsaeng

2 January 2019

น้ำเย็น ปลาเป็น ณ บ้านขุนกลาง

น้ำเย็น ปลาเป็น ณ บ้านขุนกลาง          “ตามสำนวนไทยที่กล่าวไว้ว่า น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย แต่ ณ บ้านขุนกลาง น้ำเย็น ปลากลับเป็นและเจริญเติบโตได้ดี”          ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น แม้แต่ธารน้ำที่ไหลผ่านโขดหินลดหลั่นลงมาจากยอดเขาดอยอินทนนท์เมื่อได้สัมผัสจึงรู้ว่า เย็นจนมือชาเลยทีเดียว ด้วยพลังของแหล่งน้ำแห่งนี้ มีศักยภาพสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้ จึงกลายมาเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านขุนกลาง ที่ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนบนยอดดอยอินทนนท์ได้ใช้ ซึ่งอยู่ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)          ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่อุณหภูมิที่หนาวเย็นของยอดดอยอินทนนท์ตลอดทั้งปี เหมาะแก่การปลูกต้นฝิ่น ทำให้ผู้คนนิยมปลูกกันทุกหลังคาเรือนแต่นั่นกลับกลายเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ และด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการส่งเสริมการปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาวและได้ริเริ่มการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเย็นจากต่างประเทศสู่ประเทศไทย          กว่า 40 ปีแล้วที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริกับนักประมง มูลนิธิโครงการหลวงดอยอินทนนท์ ให้วิจัยเพาะพันธุ์ปลาน้ำเย็นจากต่างประเทศมาเลี้ยงบนพื้นที่ราบสูง เพื่อเพิ่มอาชีพให้กับประชาชนแทนการปลูกฝิ่น “จากพระราชกระแสรับสั่งนั้น กรมประมงจึงได้นำปลาเรนโบว์เทราต์ ปลาจากประเทศเยอรมนี เข้ามาเพาะพันธุ์ในประเทศไทย นับเป็นครั้งแรกที่ท้าทายและตื้นตันใจอย่างที่สุดของพวกเราชาวกรมประมง” นายสานนท์ […]

Rapheephat Toumsaeng

9 December 2018

เรื่องเล่าจากดอยอินทนนท์ จาก”ทุ่งดอกฝิ่น” สู่ “ทุ่งดอกเบญจมาศ”

เรื่องเล่าจากดอยอินทนนท์ จาก”ทุ่งดอกฝิ่น” สู่ “ทุ่งดอกเบญจมาศ”          เสียงน้ำตกไหลกระทบกับโขดหิน ดังเสมือนเป็นดนตรีแห่งธรรมชาติตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะความอุดมสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำบนดอยอินทนนท์ แหล่งธารน้ำไหลเย็นใสสะอาดชั้นเยี่ยมที่คอยหล่อเลี้ยงทุกตารางนิ้วตั้งแต่ยอดดอยจนถึงปลายดอย บวกกับอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี ถือเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวผู้เดินทางไปเยี่ยมเยือนชุมชนบ้านขุนกลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่          ย้อนกลับไปเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ที่บ้านขุนกลางเป็นเพียงชุมชนขนาดเล็กที่มีกลุ่มชนชาติพันธุ์กาเรน กะยีน คนยาง หรือที่เรารู้จักกันทั่วไปว่า กะเหรี่ยง ตั้งรกรากอยู่ไม่กี่สิบหลังคาเรือน ทุกบ้านยึดอาชีพปลูกฝิ่นขาย ไม่ว่าดอยไหนๆ ก็ถูกแผ้วถางจนกลายเป็นดอยหัวโล้น เพื่อใช้เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นเกือบทุกบ้านรวมมากกว่า 7,000 ไร่ เพราะไม่รู้จะทำอาชีพอะไร ป่าทั้งป่าก็กลายเป็นทุ่งฝิ่น ทั้งๆ ที่ฝิ่นไม่ได้มีราคาขายสูงมากมายเท่าไหร่นัก ทุกอย่างดำเนินเรื่อยมาจนกลายเป็นวัฏจักรหมุนเวียนไม่จบสิ้น จนกระทั่งสิ่งมหัศจรรย์ได้เกิดขึ้นที่นี่ และเปลี่ยนทุ่งดอกฝิ่นให้กลายเป็นหมู่ดาวบนดินอันแสนงดงาม          ผู้ใหญ่บ้านไตรวิทย์ แซ่ยะ ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านขุนกลางเชื้อสายกะเหรี่ยง ซึ่งปัจจุบันถือสัญชาติไทยเล่าย้อนกลับไปเมื่อครั้งเป็นเด็กอายุเพียง 6 ขวบ กับเหตุการณ์ที่ไม่เคยลืม ว่าเมื่อปี 2509 […]

Rapheephat Toumsaeng

7 December 2018

10 สุดยอดความ(ไม่)ลับ! “เขื่อนวชิราลงกรณ”

10 สุดยอดความ(ไม่)ลับ! “เขื่อนวชิราลงกรณ”          หลายท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อของ “เขื่อนวชิราลงกรณ” ที่จังหวัดกาญจนบุรี กันมาบ้าง แต่ก็อาจจะไม่เคยได้มาเยือนเขื่อนแห่งนี้ เพราะถ้าจะให้พูดถึงความไกล ต้องบอกเลยว่ามาก โดยห่างจากกรุงเทพมหานครถึงเกือบ 300 กิโลเมตร แต่ว่าถ้าเดินทางมาถึงแล้ว ต้องบอกว่า “คุ้มมาก” อย่างแน่นอน เพราะจะได้เจอกับความสวยงามของธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์ไม่แพ้ที่อื่นเลยทีเดียว          วันนี้ กฟผ. จึงมี 10 ความ (ไม่) ลับที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับเขื่อนวชิราลงกรณ มาเล่าให้ฟังกัน เผื่อว่าวันหยุดนี้เขื่อนแห่งนี้จะเป็นหนึ่งในที่เที่ยวของครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนฝูงมากพักผ่อนกัน แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ลองมารู้จักเขื่อนวชิราลงกรณกันก่อน          เขื่อนวชิราลงกรณเป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของไทย ที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า โดยมีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวม 300 […]

Rapheephat Toumsaeng

2 October 2018

ไฮบริดกังหันลมลำตะคองเคียงคู่เซลล์เชื้อเพลิง คู่สร้าง คู่สม แห่งเขายายเที่ยง

ไฮบริดกังหันลมลำตะคองเคียงคู่เซลล์เชื้อเพลิง คู่สร้าง คู่สม แห่งเขายายเที่ยง          หากใครที่ได้ขับรถผ่านถนนมิตรภาพ ตามเส้นทางที่วิ่งไปทางเมืองโคราช คงจะได้เห็นกังหันลมจำนวน 12 ต้น ที่ตั้งตระหง่านอยู่ตามรายทาง ซึ่งกังหันลมที่เห็นนั้นคือ โครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคองระยะที่ 2 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทีเพิ่งติดตั้งเสร็จสดๆ ร้อนๆ เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา          กังหันลมขนาดกำลังผลิตต้นละ 2 เมกะวัตต์ จำนวน 12 ต้น รวมกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ที่ทอดยาวตลอด 8 กิโลเมตร บนเขายายเที่ยง ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้วนี้มีความพิเศษ เพราะไม่ได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเท่านั้น ยังทำงานร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิง หรือเรียกว่า Wind Hydrogen Hybrid ซึ่งเป็น ‘แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชีย’ ที่ใช้ระบบนี้ในการกักเก็บและจ่ายไฟฟ้า Wind Hydrogen Hybrid คืออะไร?   […]

Rapheephat Toumsaeng

7 September 2017

36 ปี เขื่อนศรีนครินทร์ ก้าวไกลใส่ใจชุมชน-สิ่งแวดล้อม ร่วมคิด/พัฒนาตามแนว“พอเพียง”

36 ปี เขื่อนศรีนครินทร์ ก้าวไกลใส่ใจชุมชน-สิ่งแวดล้อม ร่วมคิด/พัฒนาตามแนว“พอเพียง”           เขื่อนศรีนครินทร์เกิดขึ้นตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง เป็นโครงการอเนกประสงค์เพื่อพัฒนาด้านการเกษตรและชลประทาน มีพื้นที่โครงการประมาณ 3 ล้านไร่ ซึ่งนอกจากจะอำนวยประโยชน์ด้านการชลประทาน การจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภค การบรรเทาอุทกภัย และการประมงแล้ว ยังครอบคลุมถึงการคมนาคม และการพักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย     เขื่อนศรีนครินทร์หรือเดิมเรียกว่า “เขื่อนบ้านเจ้าเณร” เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำบนลำน้ำแควใหญ่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ศึกษาและสำรวจความเหมาะสมของโครงการ และออกแบบก่อสร้างระหว่างปี 2508-2515 เริ่มก่อสร้างในปี 2516 และนำเข้าใช้งานอย่างสมบูรณ์ในปี 2523 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มาขนานนามเขื่อน เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2520 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2524     เขื่อนศรีนครินทร์สร้างขึ้นปิดกั้นลำน้ำแควใหญ่ ที่บ้านเจ้าเณร ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ตัวเขื่อนเป็นแบบหินถมแกนดินเหนียวสูง 140 เมตร สันเขื่อนยาว […]

Rapheephat Toumsaeng

12 June 2017
1 33 34
Skip to content