เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากจะให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังอำนวยประโยชน์นานัปการต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคแถบนี้ทั้งทางด้านการชลประทาน การป้องกันอุทกภัย การประมง และการท่องเที่ยว นับเป็นการสงวนและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในยุคปัจจุบัน           เขื่อนสิรินธรเดิมมีชื่อว่า “เขื่อนลำโดมน้อย” สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อย สาขาของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อย ต.นิคมลำโดมน้อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2514           พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาขนานนามเขื่อนว่า “เขื่อนสิรินธร” ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514           ปัจจุบันเขื่อนสิรินธรได้มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลกบนพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อน ซึ่งเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว ความจุอ่างเก็บน้ำ1,966.50 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ288 ตารางกิโลเมตร ความกว้างสันเขื่อน7.50 เมตร ความยาวสันเขื่อน940 เมตร ความสูงจากฐานราก42 […]

Rapheephat Toumsaeng

1 December 2022

เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี

แม่น้ำแควน้อยเป็นแม่น้ำใหญ่สายหนึ่งของประเทศไทย ไหลผ่านพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี ตลอดทั้งลำนำ มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 390 กิโลเมตร เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรี แผนพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้พัฒนาให้สามารถผลิตไฟฟ้า เพื่ออำนวยประโยชน์หลากหลายด้าน อาทิ การเกษตร และชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง ส่วนอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนก็เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดสำหรับทำการประมงได้เป็นอย่างดี           เขื่อนวชิราลงกรณ เดิมชื่อว่า “เขื่อนเขาแหลม” เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทยที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย ในท้องที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2522 ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  จำนวน 3 เครื่อง มีกำลังการผลิตเครื่องละ 100,000 กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ 460 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ได้กดปุ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าหน่วยที่ 3 ทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบเป็นครั้งแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2527 และวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2528 หน่วยที่สองและหน่วยที่หนี่งได้เดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบเข้าระบบเช่นกัน […]

Rapheephat Toumsaeng

1 December 2022

เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

จากแนวความคิดที่พัฒนาประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจแห่งเอเชียและตะวันออกไกล หรือแอสแคป (ESCAP) จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานสำรวจลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และได้แนะนำให้รัฐบาลไทยสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าการชลประทาน การอุปโภค-บริโภคอุตสาหกรรม บรรเทาอุทกภัย การประมง และการท่องเที่ยว           เขื่อนอุบลรัตน์ ชื่อเดิมว่า เขื่อนพองหนีบ เป็นโครงการเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของไทย และเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภายใต้การนำของศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือคนแรก เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2507 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2509 โดยมีลำน้ำหลักรับน้ำลงสู่อ่างเก็บน้ำ 3 ลำ น้ำคือ ลำน้ำพอง ลำน้ำเชิญ มีต้นน้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ และลำพะเนียง มีต้นน้ำจากเทือกเขาภูพาน จ.หนองบัวลำภู           ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 8.40 เมกะวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ 56.10 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลสำหรับใช้ในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนได้ปีละ ประมาณ 15.42 ล้านลิตร           ด้านการเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่ชลประทานโดยส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกในเขต อ.เมือง อ.น้ำพอง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น และ […]

Rapheephat Toumsaeng

1 December 2022

เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์

แม่น้ำน่านเป็นแควต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีความสำคัญรองลงมาจากแม่น้ำปิง ฉะนั้น เพื่อให้ทุ่งเจ้าพระยาได้ผลแก่การเกษตรอย่างเต็มที่ จึงจำเป็นต้องสร้างเขื่อนบนแม่น้ำนานเพื่อช่วยลดอุทกภัย และให้มีน้ำใช้ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก                      เขื่อนสิริกิติ์ เดิมชื่อ “เขื่อนผาซ่อม” เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2511 ปิดกั้นแม่น้ำน่าน ณ บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน ดำเนินการก่อสร้างโดยกรมชลประทาน กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการนี้เพื่อบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำน่าน และร่วมกับเขื่อนภูมิพลบรรเทาอุทกภัยในทุ่งเจ้าพระยาให้ลดน้อยลง ทำการชลประทานในลุ่มน้ำน่านในฤดูฝนได้ 1,551,000 ไร่ ในฤดูแล้งในลุ่มน้ำน่านได้ 300,000 ไร่ และในทุ่งเจ้าพระยาได้อีก 2,500,000 ไร่ รวม 2,800,000 ไร่ เมื่อได้ขุดลอกและแต่งลำแม่น้ำน่านบางตอนแล้ว จะใช้เป็นเส้นทางคมนาคมจากจังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ตลอดปี อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนเป็นแหล่งพันธุ์ปลา และสถานที่ท่องเที่ยว ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขนานนามว่า “เขื่อนสิริกิติ์” แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2515           พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า […]

Rapheephat Toumsaeng

30 November 2022

เขื่อนภูมิพล จ.ตาก

…ข้าพเจ้าเห็นพ้องกับรัฐบาลว่า โครงการอเนกประสงค์โครงการแรกของประเทศไทยนี้ เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเศรษฐกิจก้าวใหม่ให้ไพศาลออกไป ปัจจุบันน้ำเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงชีวิต และน้ำกับไฟฟ้าส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เมื่อพลเมืองเพิ่มมากและเร็ว ก็ต้องเพิ่มน้ำและไฟฟ้าให้ทันความต้องการของพลเมือง..                      “เขื่อนภูมิพล” เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย ลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้ง และเป็นเขื่อนแรกในประวัติศาสตร์ไทยอันเป็นจุดกำเนิดของการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ การใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านของอ่างเก็บน้ำ เช่น เก็บหรือชะลอน้ำในฤดูน้ำหลากเพื่อป้องกันบรรเทาอุทกภัย แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงเกินจนส่งผลกระทบต่อพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำที่ถูกน้ำท่วม และความมั่นคงปลอดภัยของตัวเขื่อน เป็นต้น และระบายน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค การเกษตรกรรม และรักษาระบบนิเวศน์ รวมถึงประโยชน์ที่เป็นผลพลอยได้อื่น ๆ ที่เกิดจากการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพล           โดยถือกำเนิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลในขณะนั้นมีแนวคิดที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าทั่วราชอาณาจักร” เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ ซึ่งพบว่าในลำน้ำปิงบริเวณหุบเขาย่านรีหรือยันฮี อ.สามเงา จ.ตาก มีความเหมาะสมต่อการสร้างเขื่อนเป็นอย่างยิ่ง จึงนำมาสู่การสำรวจ “เขื่อนยันฮี” ในปี พ.ศ. 2495 และเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2500 – 2507 และในปีเดียวกันนี้เอง ก็มีการตั้ง “การไฟฟ้ายันฮี” (กฟย.) เพื่อรับผิดชอบการสร้างเขื่อน และผลิตไฟฟ้าให้กับภาคกลางและภาคเหนือ […]

Rapheephat Toumsaeng

30 November 2022

เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี

เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ขนาดใหญ่แห่งแรกของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง สร้างขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์ด้านต่างๆ  ส่งเสริมระบบชลประทาน โครงการแม่กลองใหญ่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น                      เขื่อนแม่กลองของกรมชลประทานเป็นหัวงานทดน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรได้ตลอดปีเป็นเนื้อที่ถึง 4 ล้านไร่ สามารถปล่อยน้ำลงผลักดันน้ำเค็มมิให้หนุนล้ำเข้ามาทำความเสียหายแก่พื้นที่บริเวณปากน้ำแม่กลองในช่วงฤดูแล้ง การประมง บรรเทาอุทกภัย การท่องเที่ยว           เขื่อนศรีนครินทร์นับเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกาญจนบุรีให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้มาเที่ยวชมปีละเป็นจำนวนกว่าแสนคน และก่อให้เกิดการขยายตัวทางการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง เช่น แพท่องเที่ยวในอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น           พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระศรีนครินทร์ มาขนานนามเขื่อน และเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2524 เขื่อนหินถมแกนดินเหนียว ความจุอ่างเก็บน้ำ17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ419 ตารางกิโลเมตร ความกว้างสันเขื่อน15 เมตร ความยาวสันเขื่อน610 เมตร ความสูงจากฐานราก140 เมตร เขื่อนศรีนครินทร์เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวที่สามารถกักเก็บน้ำได้มากที่สุดในประเทศไทย อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 720 เมกะวัตต์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละประมาณ1,250 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 4-5 (ระบบสูบกลับ)

Rapheephat Toumsaeng

30 November 2022

โรงไฟฟ้าน้ำพอง จ.ขอนแก่น

โรงไฟฟ้าน้ำพองเป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นโรงไฟฟ้าแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า           สืบเนื่องจากบริษัทผู้ได้รับสัมปทาน ทำการสำรวจหาปิโตรเลียมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ขุดพบแหล่งก๊าซธรรมชาติ ในจังหวัดอุดรธานี และขอนแก่น มีแหล่งปิโตรเลียมอยู่ประมาณ 10 แห่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้ทำการสำรวจพบก๊าซที่ระดับความลึก 4,000 เมตร ที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณสำรองประมาณ 1.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต บริษัทจึงได้เจรจาซื้อขายกับรัฐบาล และกำหนดแผนการพัฒนาแหล่งก๊าซน้ำพองเป็น 2 ระยะโดยระยะแรกจะเป็นการทดสอบหลุมก๊าซ เพื่อประเมินปริมาณสำรองที่แน่นอนและเตรียมการพัฒนาการผลิตก๊าซในระยะยาว และระยะหลังของแผนจะเป็นการผลิตในเชิงพาณิชย์           ด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหลายปีที่ผ่าน ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงกำหนดแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าน้ำพองขึ้น โดยใช้ก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบจากแหล่งน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นเชื้อเพลิง และต่อมาได้ใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งภูฮ่อม อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มเติมในการผลิตไฟฟ้า เพื่อเสริมความมั่นคงในระบบไฟฟ้าให้กับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลให้มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด           โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1  ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2532 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือน 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ชุดที่ […]

Rapheephat Toumsaeng

25 November 2022

โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี กฟผ. ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัย คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ มาสร้างโรงไฟฟ้าในภาคนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย           โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ สร้างอยู่ใกล้กับเขื่อนลำตะคอง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงพิจารณานำเทคโนโลยีที่ทันสมัย คือ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ มาสร้างโรงไฟฟ้าในภาคนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ทำงานโดยการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนกรมชลประทาน ไปเก็บไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง ในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยหรือช่วงกลางคืนถึงเช้า และเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในช่วงกลางวันถึงค่ำ จะปล่อยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า และปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองเหมือนเดิม เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยงสร้างแบบหินถม ดาดด้วยยางมะตอยเพื่อป้องกัน เก็บกักน้ำได้ 10.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ตัวอาคารโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ถูกสร้างไว้ใต้ระดับผิวดินลึกกว่า 350 เมตร เป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง ใช้กังหันน้ำแบบสูบกลับชนิด Vertical Shaft Francis Type มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 500 เมกะวัตต์ ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเมื่อปี พ.ศ.2547 นับเป็นโรงไฟฟ้าที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มกำลังผลิตในช่วงเวลาที่ความต้องการไฟฟ้าสูง ช่วยเพิ่มความมั่นคงในระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้           พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ […]

Rapheephat Toumsaeng

25 November 2022

โรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

เสริมสร้างความแข็งแกร่งรองรับความเจริญเติบโตในอนาคต ทั้งของภาครัฐและเอกชน โรงไฟฟ้าวังน้อยเป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกและแห่งเดียวของเขตพัฒนากำลังผลิตและระบบส่งของภาคกลางตอนบน สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ นำความเจริญไปสู่ภูมิภาค และให้บริการชุมชนเมืองที่กำลังขยายตัว           โรงไฟฟ้าวังน้อย เป็นโครงการเร่งด่วนโดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีมติเห็นชอบโครงการและเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 เหตุผลที่เลือกตั้งที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพ เพราะใกล้แห่งเชื้อเพลิง แหล่งน้ำและระบบส่ไฟฟ้า อีกทั้งใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งสามารถลดต้นทุน และลดความสูญเสียในระบบส่งไฟฟ้า ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอ่าวไทย โดยขนส่งทางท่อก๊าซบางปะกง-วังน้อย ระยะทางปรมาณ 100 กิโลเมตร และอีกแหล่งหนึ่งจากประเทศเมียนมาร์           โรงไฟฟ้าวังน้อย 1-3 เริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดโรงไฟฟ้าวังน้อย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2541           ต่อมามีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคกลางของประเทศเพิ่มสูงขึ้น กฟผ. […]

Rapheephat Toumsaeng

25 November 2022

โรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา

ภาคใต้ตอนล่างมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการลงทุนค่อนข้างสูง ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้เพิ่มขึ้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าในภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะที่รับผิดชอบต่อการจัดหา และผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. พ.ศ. 2547 – 2558 เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าในภาคใต้           คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมแบบเพลาผสม (Multi Shaft Combined Cycle) จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และ ครม. ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยีพลังความร้อนร่วมแบบเพลาเดี่ยว (Single-shaft) ที่มีประสิทธิภาพในการเผาไหม้เชื้อเพลิงสูง ทำให้ลดการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. […]

Rapheephat Toumsaeng

25 November 2022
1 2 3 4 13
Skip to content